วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ความมีเหตุผล
- คำนึงถึง ศักยภาพของบุคคลหรือกลุ่มหน่วยงาน
- คำนึงถึง ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
- คำนึงถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ดั้งเดิม
- คำนึงถึง ทุนทางสังคมในชุมชน
- คำนึงถึง ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
- คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่ตามมา

ความพอประมาณ
- มีการจัดทรัพยากรที่มีอย่างเหมาะสมในทางเลือกต่างๆ
- มีขนาดของกิจกรรมที่พอดี ไม่ใหญ่ ไม่เล็กเกินไป
- มีอัตราการเจริญเติบโตไม่เร็วหรือช้าเกินไป
- มีความพอประมาณเป็นพลวัตร เปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยและเงื่อนไขที่มีอยู่แต่ละช่วงเวลา
- มีแผนงานระยะสั้นและระยะยาว

การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
- มีการผ่อนหนัก ผ่อนเบา จากการมีระบบการจัดการที่เสี่ยง
- มีการเตือนภัยทางธรรมชาติและสังคม
- มีการป้องกันทางวัฒนธรรมและสังคม
- มีระบบประกันต่างๆ เพื่อลดความเสียหายในยามวิกฤต

เงื่อนไขคุณธรรม
คุณธรรม คือ คุณลักษณะที่ดีของจิตใจ
จริยธรรม คือ ความประพฤติอันเกิดจากการมีจิตใจที่ดีงาม
- ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
- มีสติ จริงใจ ซื่อสัตย์ ยุติธรรม เสียสละ
- มีความเพียร รอบคอบ รอคอย อดทน




เงื่อนไขความรู้
- รอบรู้ในศาสตร์ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับชีวิต
- ละเอียด รอบคอบในการใช้วิชาความรู้
- ยึดหลักเหตุผลและวิทยาศาสตร์มากกว่าความรู้สึก
- ไม่หลง ไม่งมงาย ไม่เชื่ออย่างไร้สาระตามกระแสพาไป
- ใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารแสวงหาความรู้

ปัญหาของครู กับ การขับเคลื่อนการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

สภาพปัญหา
แนวทางแก้ไข
1. ความไม่เข้าใจตัวปรัชญาฯ
1. ให้ความรู้โดยการอบรม ศึกษาดูงาน
2. ภาระในหน้าที่รับผิดชอบมาก
2.1 ให้รู้จักแบ่งเวลา
2.2 สร้างแรงจูงใจ
3. ค่านิยมไม่เป็นแบบอย่างที่ดี
3. หาจุดเด่นที่ทำได้บางประการ แล้วขยายผลสู่
หลักการอื่นๆ
4. ไม่สามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนได้
4.1 อบรมเขียนแผนฯบูรณาการ
4.2 มีแผนฯหรือหลักสูตรสำเร็จให้
5. ต่อต้าน ไม่เห็นด้วย
5.1 ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบาย
5.2 มีคำสั่งให้ปฏิบัติงาน
5.3 ให้วางเฉย

การขับเคลื่อนการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา จะสำเร็จได้เพราะทุกฝ่ายเห็นคุณประโยชน์ที่จะเกิดกับเด็กและประเทศชาติ แล้วเต็มใจปฏิบัติงานตามหลักการของปรัชญาฯอย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ

ไม่มีความคิดเห็น: