การวิเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารสถานศึกษา
การบริหารวิชาการ
หลักความพอประมาณ
- พอประมาณกับจำนวนบุคลากรที่มีอยู่และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พอประมาณกับจำนวนนักเรียนที่มีในแต่ละปีการศึกษา
- พอประมาณกับงบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์ที่ได้รับจัดสรร
- พอประมาณกับจำนวนห้องเรียนที่มีอยู่
- พอประมาณกับสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆ
หลักความมีเหตุผล
- การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพทั้งด้าน
ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
- การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้ครูได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่
ก่อให้เกิดผลงานจากการเรียนการสอนที่ใช้พัฒนาสมรรถนะของตนเองได้
- การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้โรงเรียน ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองชุมชน
สังคม ว่ามีคุณภาพ สมควรได้รับการไว้วางใจที่จะนำบุตรหลานมาให้โรงเรียนจัดการศึกษา
หลักภูมิคุ้มกัน
- การรู้จักคุณภาพของครูและบุคลากรอย่างลึกซึ้ง
- มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การมอบหมายหน้าที่ให้ครูอย่างถูกต้องกับความรู้ ความสามารถ
- การมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูและนักเรียนที่ชัดเจน
- การมีสื่อการสอนที่ทันสมัย สามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
- มีการวัดผล ประเมินผลที่ชัดเจนและเที่ยงตรง
- มีการแนะแนวการศึกษาให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและกำหนดเป้าหมายของการศึกษาได้
เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของตนเอง
เงื่อนไขคุณธรรม
- ความยุติธรรมในการให้ความดี ความชอบ หรือผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ แก่ผู้ร่วมงาน
- ความเสียสละ อมทนของเพื่อนครู
- ความขยัน หมั่นเพียรของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน รวมถึงบุคลากรอื่นๆ
- การตรงต่อเวลา
- ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- ความซื่อสัตย์ สุจริต
- การทำงานโดยสติปัญญา
เงื่อนไขความรู้
- ความรู้เรื่องการพัฒนาหลักสูตร
- ความรู้เรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
- ความรู้เรื่องการวัดผล ประเมินผลและการเทียบ โอนการศึกษา
- ความรู้เรื่องวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- ความรู้เรื่องการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- ความรู้เรื่องการนิเทศการศึกษา
- ความรู้เรื่องการแนะแนวการศึกษา
- ความรู้เรื่องการพัฒนาระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษา
- ความรู้เรื่องการส่งเสริมวิชาการแก่บุคคล องค์กร หน่วยงานอื่นที่จัดการศึกษา
- ความรู้เรื่องการประสานงานร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ
- ความรู้เรื่องการรับนักเรียน
- ความรู้เรื่องการประสานงานการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การเชื่อมโยงสู่ ๔ มิติ
สังคม –การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้สังคมได้เยาวชนที่มีความรู้
ความสามารถที่จะเติบโตเป็นพลเมืองที่ช่วยพัฒนาสังคมได้ในทุกภาคส่วน
เศรษฐกิจ – การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพสามรถเป็นฐานรองรับการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจได้เป็นอย่างดีและคนที่มีการศึกษาดีจะสามารถสร้างรายได้ที่ดีด้วยเช่นกัน
วัฒนธรรม- การศึกษาทำให้คนเห็นความสำคัญของวัฒนธรรม สามารถสืบสานงานประเพณี
ต่างๆได้กว้างขวางขึ้น โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ
สิ่งแวดล้อม- ความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาการทำให้คนเห็นความสำคัญของการรักษา
สิ่งแวดล้อม สามารถใช้ความรู้ร่วมรณรงค์รักษา พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนได้
วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความมีเหตุผล
- คำนึงถึง ศักยภาพของบุคคลหรือกลุ่มหน่วยงาน
- คำนึงถึง ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
- คำนึงถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ดั้งเดิม
- คำนึงถึง ทุนทางสังคมในชุมชน
- คำนึงถึง ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
- คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่ตามมา
ความพอประมาณ
- มีการจัดทรัพยากรที่มีอย่างเหมาะสมในทางเลือกต่างๆ
- มีขนาดของกิจกรรมที่พอดี ไม่ใหญ่ ไม่เล็กเกินไป
- มีอัตราการเจริญเติบโตไม่เร็วหรือช้าเกินไป
- มีความพอประมาณเป็นพลวัตร เปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยและเงื่อนไขที่มีอยู่แต่ละช่วงเวลา
- มีแผนงานระยะสั้นและระยะยาว
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
- มีการผ่อนหนัก ผ่อนเบา จากการมีระบบการจัดการที่เสี่ยง
- มีการเตือนภัยทางธรรมชาติและสังคม
- มีการป้องกันทางวัฒนธรรมและสังคม
- มีระบบประกันต่างๆ เพื่อลดความเสียหายในยามวิกฤต
เงื่อนไขคุณธรรม
คุณธรรม คือ คุณลักษณะที่ดีของจิตใจ
จริยธรรม คือ ความประพฤติอันเกิดจากการมีจิตใจที่ดีงาม
- ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
- มีสติ จริงใจ ซื่อสัตย์ ยุติธรรม เสียสละ
- มีความเพียร รอบคอบ รอคอย อดทน
เงื่อนไขความรู้
- รอบรู้ในศาสตร์ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับชีวิต
- ละเอียด รอบคอบในการใช้วิชาความรู้
- ยึดหลักเหตุผลและวิทยาศาสตร์มากกว่าความรู้สึก
- ไม่หลง ไม่งมงาย ไม่เชื่ออย่างไร้สาระตามกระแสพาไป
- ใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารแสวงหาความรู้
ปัญหาของครู กับ การขับเคลื่อนการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
สภาพปัญหา
แนวทางแก้ไข
1. ความไม่เข้าใจตัวปรัชญาฯ
1. ให้ความรู้โดยการอบรม ศึกษาดูงาน
2. ภาระในหน้าที่รับผิดชอบมาก
2.1 ให้รู้จักแบ่งเวลา
2.2 สร้างแรงจูงใจ
3. ค่านิยมไม่เป็นแบบอย่างที่ดี
3. หาจุดเด่นที่ทำได้บางประการ แล้วขยายผลสู่
หลักการอื่นๆ
4. ไม่สามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนได้
4.1 อบรมเขียนแผนฯบูรณาการ
4.2 มีแผนฯหรือหลักสูตรสำเร็จให้
5. ต่อต้าน ไม่เห็นด้วย
5.1 ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบาย
5.2 มีคำสั่งให้ปฏิบัติงาน
5.3 ให้วางเฉย
การขับเคลื่อนการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา จะสำเร็จได้เพราะทุกฝ่ายเห็นคุณประโยชน์ที่จะเกิดกับเด็กและประเทศชาติ แล้วเต็มใจปฏิบัติงานตามหลักการของปรัชญาฯอย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ
ความมีเหตุผล
- คำนึงถึง ศักยภาพของบุคคลหรือกลุ่มหน่วยงาน
- คำนึงถึง ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
- คำนึงถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้ดั้งเดิม
- คำนึงถึง ทุนทางสังคมในชุมชน
- คำนึงถึง ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
- คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่ตามมา
ความพอประมาณ
- มีการจัดทรัพยากรที่มีอย่างเหมาะสมในทางเลือกต่างๆ
- มีขนาดของกิจกรรมที่พอดี ไม่ใหญ่ ไม่เล็กเกินไป
- มีอัตราการเจริญเติบโตไม่เร็วหรือช้าเกินไป
- มีความพอประมาณเป็นพลวัตร เปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยและเงื่อนไขที่มีอยู่แต่ละช่วงเวลา
- มีแผนงานระยะสั้นและระยะยาว
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
- มีการผ่อนหนัก ผ่อนเบา จากการมีระบบการจัดการที่เสี่ยง
- มีการเตือนภัยทางธรรมชาติและสังคม
- มีการป้องกันทางวัฒนธรรมและสังคม
- มีระบบประกันต่างๆ เพื่อลดความเสียหายในยามวิกฤต
เงื่อนไขคุณธรรม
คุณธรรม คือ คุณลักษณะที่ดีของจิตใจ
จริยธรรม คือ ความประพฤติอันเกิดจากการมีจิตใจที่ดีงาม
- ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป
- มีสติ จริงใจ ซื่อสัตย์ ยุติธรรม เสียสละ
- มีความเพียร รอบคอบ รอคอย อดทน
เงื่อนไขความรู้
- รอบรู้ในศาสตร์ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับชีวิต
- ละเอียด รอบคอบในการใช้วิชาความรู้
- ยึดหลักเหตุผลและวิทยาศาสตร์มากกว่าความรู้สึก
- ไม่หลง ไม่งมงาย ไม่เชื่ออย่างไร้สาระตามกระแสพาไป
- ใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารแสวงหาความรู้
ปัญหาของครู กับ การขับเคลื่อนการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
สภาพปัญหา
แนวทางแก้ไข
1. ความไม่เข้าใจตัวปรัชญาฯ
1. ให้ความรู้โดยการอบรม ศึกษาดูงาน
2. ภาระในหน้าที่รับผิดชอบมาก
2.1 ให้รู้จักแบ่งเวลา
2.2 สร้างแรงจูงใจ
3. ค่านิยมไม่เป็นแบบอย่างที่ดี
3. หาจุดเด่นที่ทำได้บางประการ แล้วขยายผลสู่
หลักการอื่นๆ
4. ไม่สามารถบูรณาการกับการเรียนการสอนได้
4.1 อบรมเขียนแผนฯบูรณาการ
4.2 มีแผนฯหรือหลักสูตรสำเร็จให้
5. ต่อต้าน ไม่เห็นด้วย
5.1 ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบาย
5.2 มีคำสั่งให้ปฏิบัติงาน
5.3 ให้วางเฉย
การขับเคลื่อนการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา จะสำเร็จได้เพราะทุกฝ่ายเห็นคุณประโยชน์ที่จะเกิดกับเด็กและประเทศชาติ แล้วเต็มใจปฏิบัติงานตามหลักการของปรัชญาฯอย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ
วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551
แก๊สโซฮอล์ พลังงานพระราชดำริ ทางเลือกแทนน้ำมันเบนซิน
เรื่อง แก๊สโซฮอล์ พลังงานพระราชดำริ ทางเลือกแทนน้ำมันเบนซิน
แก๊สโซฮอล์ ผลิตจากส่วนผสมระหว่างน้ำมันเบนซิน และเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วนผสม 9 ต่อ 1 ( 10 เปอร์เซ็นต์ )
ความคิดที่นำเอา เอทานอล มาเป็นส่วนผสม เป็นเพราะต้องการลดการนำเข้าสารเคมีที่เพิ่มค่าออกเทน MTBE ( MTHYL TERTIARY BUTYL ETHER ) ในน้ำมันเบนซินให้น้อยลงกว่าเดิม ซึ่งแก๊สโซฮอล์ สามารถใช้ได้ดีกับเครื่องยนต์เบนซินทุกรุ่น โดยไม่ต้องปรับแต่งเครื่องยนต์เพิ่มเติม ประสิทธิภาพดี และราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน 95 ประมาณ 1.50 บาทต่อลิตร ซึ่งช่วยลดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งยังช่วยเหลือเกษตรกรได้อีกด้วย เพราะเอทานอลที่ได้จากการนำอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด มาผ่านกระบวนการหมัก ( FERMENTATION ) จะเปลี่ยนแป้งจากพืชเป็นน้ำตาล และจากน้ำตาลเป็นเอทานอล ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมของแก๊สโซฮอล์ในที่สุด
แก๊สโซฮอล์ ผลิตจากส่วนผสมระหว่างน้ำมันเบนซิน และเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วนผสม 9 ต่อ 1 ( 10 เปอร์เซ็นต์ )
ความคิดที่นำเอา เอทานอล มาเป็นส่วนผสม เป็นเพราะต้องการลดการนำเข้าสารเคมีที่เพิ่มค่าออกเทน MTBE ( MTHYL TERTIARY BUTYL ETHER ) ในน้ำมันเบนซินให้น้อยลงกว่าเดิม ซึ่งแก๊สโซฮอล์ สามารถใช้ได้ดีกับเครื่องยนต์เบนซินทุกรุ่น โดยไม่ต้องปรับแต่งเครื่องยนต์เพิ่มเติม ประสิทธิภาพดี และราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซิน 95 ประมาณ 1.50 บาทต่อลิตร ซึ่งช่วยลดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งยังช่วยเหลือเกษตรกรได้อีกด้วย เพราะเอทานอลที่ได้จากการนำอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด มาผ่านกระบวนการหมัก ( FERMENTATION ) จะเปลี่ยนแป้งจากพืชเป็นน้ำตาล และจากน้ำตาลเป็นเอทานอล ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมของแก๊สโซฮอล์ในที่สุด
ไบโอดีเซล ทางเลือกใหม่เพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล
เรื่อง ไบโอดีเซล ทางเลือกใหม่เพื่อทดแทนน้ำมันดีเซล
ไบโอดีเซล ( BIODIESEL ) คือ น้ำมันจากพืชหรือไขมันสัตว์ ที่นำมาใช้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ราคาถูก เพราะนำวัสดุในธรรมชาติมาผลิต และช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลจากต่างประเทศได้ด้วย แบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ตามกรรมวิธี ได้แก่
1. ไบโอดีเซลธรรมดา ได้มาจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ แต่จะมีปัญหาติดเครื่องเครื่องยนต์ยากและมีคราบเขม่า
2. ไบโอดีเซลลูกผสม (น้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ บวก น้ำมันดีเซล) ให้คุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล
1. ไบโอดีเซลเอสเทอร์ ได้จากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ ที่ผ่านปฏิกิริยาทางเคมี สลายโมเลกุลให้เล็กลง จนกระทั่งไบโอดีเซลอยู่ในลักษณะของเอทิลเอสเตอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด สามารถทดแทนน้ำมันดีเซลโดยตรง
ไบโอดีเซล ( BIODIESEL ) คือ น้ำมันจากพืชหรือไขมันสัตว์ ที่นำมาใช้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ราคาถูก เพราะนำวัสดุในธรรมชาติมาผลิต และช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดีเซลจากต่างประเทศได้ด้วย แบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ตามกรรมวิธี ได้แก่
1. ไบโอดีเซลธรรมดา ได้มาจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ แต่จะมีปัญหาติดเครื่องเครื่องยนต์ยากและมีคราบเขม่า
2. ไบโอดีเซลลูกผสม (น้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ บวก น้ำมันดีเซล) ให้คุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล
1. ไบโอดีเซลเอสเทอร์ ได้จากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ ที่ผ่านปฏิกิริยาทางเคมี สลายโมเลกุลให้เล็กลง จนกระทั่งไบโอดีเซลอยู่ในลักษณะของเอทิลเอสเตอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด สามารถทดแทนน้ำมันดีเซลโดยตรง
พลังงานไฮโดรเจน ทางเลือกใหม่ของพลังงานในอนาคต
เรื่อง พลังงานไฮโดรเจน ทางเลือกใหม่ของพลังงานในอนาคต
อากาศที่เราหายใจกันอยู่ทุกวัน ส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน ( H ) ที่มีอยู่มากมายในชั้นบรรยากาศ ซึ่ง ผศ. ดร. นวดล เหล่าศิริพจน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ออกแบบระบบการผลิตไฮโดรเจนที่เหมาะสมกับสารตั้งต้นชนิดต่าง ๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซมีเทน ก๊าซหุงต้ม และเมทานอล มาทำปฏิกิริยาเคมี สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 1 กิโลวัตต์
ซึ่งทางบริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน) จะขยายการผลิตไฮโดรเจน เพื่อรองรับเซลล์เชื้อเพลิงที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 250 กิโลวัตต์ ในกลางปี พ.ศ. 2550 จะนำมาทดลองใช้จริงกับเซลล์เชื้อเพลิง เพื่อพัฒนาไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง ทางเลือกใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมือนเบนซินและดีเซล อีกทั้งยังใช้แทนกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ โดยคาดว่าอีก 3 ปี จะแล้วเสร็จ
อากาศที่เราหายใจกันอยู่ทุกวัน ส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน ( H ) ที่มีอยู่มากมายในชั้นบรรยากาศ ซึ่ง ผศ. ดร. นวดล เหล่าศิริพจน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ออกแบบระบบการผลิตไฮโดรเจนที่เหมาะสมกับสารตั้งต้นชนิดต่าง ๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซมีเทน ก๊าซหุงต้ม และเมทานอล มาทำปฏิกิริยาเคมี สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 1 กิโลวัตต์
ซึ่งทางบริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน) จะขยายการผลิตไฮโดรเจน เพื่อรองรับเซลล์เชื้อเพลิงที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 250 กิโลวัตต์ ในกลางปี พ.ศ. 2550 จะนำมาทดลองใช้จริงกับเซลล์เชื้อเพลิง เพื่อพัฒนาไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง ทางเลือกใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมือนเบนซินและดีเซล อีกทั้งยังใช้แทนกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ โดยคาดว่าอีก 3 ปี จะแล้วเสร็จ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)