วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

การวิเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารสถานศึกษา

การวิเคราะห์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารสถานศึกษา

การบริหารวิชาการ
หลักความพอประมาณ
- พอประมาณกับจำนวนบุคลากรที่มีอยู่และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พอประมาณกับจำนวนนักเรียนที่มีในแต่ละปีการศึกษา
- พอประมาณกับงบประมาณและวัสดุครุภัณฑ์ที่ได้รับจัดสรร
- พอประมาณกับจำนวนห้องเรียนที่มีอยู่
- พอประมาณกับสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆ
หลักความมีเหตุผล
- การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพทั้งด้าน
ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
- การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้ครูได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่
ก่อให้เกิดผลงานจากการเรียนการสอนที่ใช้พัฒนาสมรรถนะของตนเองได้
- การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้โรงเรียน ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองชุมชน
สังคม ว่ามีคุณภาพ สมควรได้รับการไว้วางใจที่จะนำบุตรหลานมาให้โรงเรียนจัดการศึกษา

หลักภูมิคุ้มกัน
- การรู้จักคุณภาพของครูและบุคลากรอย่างลึกซึ้ง
- มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การมอบหมายหน้าที่ให้ครูอย่างถูกต้องกับความรู้ ความสามารถ
- การมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาครูและนักเรียนที่ชัดเจน
- การมีสื่อการสอนที่ทันสมัย สามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี
- มีการวัดผล ประเมินผลที่ชัดเจนและเที่ยงตรง
- มีการแนะแนวการศึกษาให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองและกำหนดเป้าหมายของการศึกษาได้
เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของตนเอง

เงื่อนไขคุณธรรม
- ความยุติธรรมในการให้ความดี ความชอบ หรือผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ แก่ผู้ร่วมงาน
- ความเสียสละ อมทนของเพื่อนครู
- ความขยัน หมั่นเพียรของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน รวมถึงบุคลากรอื่นๆ
- การตรงต่อเวลา
- ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- ความซื่อสัตย์ สุจริต
- การทำงานโดยสติปัญญา

เงื่อนไขความรู้
- ความรู้เรื่องการพัฒนาหลักสูตร
- ความรู้เรื่องการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
- ความรู้เรื่องการวัดผล ประเมินผลและการเทียบ โอนการศึกษา
- ความรู้เรื่องวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- ความรู้เรื่องการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- ความรู้เรื่องการนิเทศการศึกษา
- ความรู้เรื่องการแนะแนวการศึกษา
- ความรู้เรื่องการพัฒนาระบบประกันคุณภาพในสถานศึกษา
- ความรู้เรื่องการส่งเสริมวิชาการแก่บุคคล องค์กร หน่วยงานอื่นที่จัดการศึกษา
- ความรู้เรื่องการประสานงานร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ
- ความรู้เรื่องการรับนักเรียน
- ความรู้เรื่องการประสานงานการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การเชื่อมโยงสู่ ๔ มิติ
สังคม –การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพทำให้สังคมได้เยาวชนที่มีความรู้
ความสามารถที่จะเติบโตเป็นพลเมืองที่ช่วยพัฒนาสังคมได้ในทุกภาคส่วน
เศรษฐกิจ – การบริหารวิชาการที่มีประสิทธิภาพสามรถเป็นฐานรองรับการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจได้เป็นอย่างดีและคนที่มีการศึกษาดีจะสามารถสร้างรายได้ที่ดีด้วยเช่นกัน
วัฒนธรรม- การศึกษาทำให้คนเห็นความสำคัญของวัฒนธรรม สามารถสืบสานงานประเพณี
ต่างๆได้กว้างขวางขึ้น โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ
สิ่งแวดล้อม- ความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาการทำให้คนเห็นความสำคัญของการรักษา
สิ่งแวดล้อม สามารถใช้ความรู้ร่วมรณรงค์รักษา พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนได้

ไม่มีความคิดเห็น: